แนะนำการรักษาแก้ไขปัญหานอนกรน ที่โรงพยาบาลยันฮี
คนส่วนใหญ่มักมีความรู้สึกว่า “การนอนกรน” เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ในระยะหลังการนอนกรนกลายเป็นปัญหาในระดับที่เป็นอันตราย ก็คือ การนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ (Obstructive Sleep Apnea,(OSA)) ร่วมด้วย ซึ่งมีผลทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ความดันโลหิตสูง, สมองขาดออกซิเจน,ความดันเลือดในปอดสูง,หัวใจเต้นผิดจังหวะ ฯลฯ
สาเหตุของการนอนกรน
1. ความอ้วน เนื่องจากไขมันที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อรอบช่องคอจะทำให้มีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้นในขณะนอนหลับ
2. ลักษณะโครงสร้างของกระดูกใบหน้า : คางสั้น
3. อายุมาก ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตกไปด้านหลังช่องคอ
4. โรคทางสมองบางโรคที่ทำให้ระบบหายใจทำงานผิดปกติ หรือมีการตีบแคบลงของทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ
5. พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
6. กรรมพันธุ์
7. ภาวะแน่นจมูกเรื้อรัง
8. จากการดื่มสุรา และสูบบุรี่
อาการที่บ่งบอกว่ามีการนอนกรนผิดปกติ
1. มีอาการนอนกรนดังเป็นประจำ,เสียงกรนขาดๆ หายๆ หรือมีอาการลุกขึ้นมานั่งหายใจเฮือกเหมือนคนขาดอากาศ หรือคนข้างเคียงสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ก็ยิ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ
2.อาการง่วงนอนมากผิดปกติขณะที่นั่งเฉยๆ เช่น นั่งอ่านหนังสือ,หลับในขณะขับรถอาจก่อนให้เกิดอุบัติเหตุได้ เป็นต้น
3.อาการที่เกิดจากการนอนไม่พอ เช่น ปวดศีรษะในตอนเข้า,สะลึมสะลือเป็นช่วงๆ หรืออาจมีพฤติกรรมความต้องการทางเพศลดลง, หงุดหงิดง่าย
วิธีป้องกันการนอนกรน
1.ควบคุมน้ำหนักเพราะควรรามอ้วนจะทำให้มีการหนาตัวของเนื้อเยื่อรอบๆ ช่องคอที่เป็นทางเดินหายใจส่วนต้น ส่งผลให้มีการตีบแคบและการอุดกั้นของทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ
2.การจัดท่านอนหลับ ควรเป็นท่านอนตะแคง เพราะท่านอนหงายจะทำให้อาการนอนกรนหรืออุดกั้นทางเดินหายใจเป็นมากขึ้น
3.การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้ความรุนแรงของอาการนอนกรนหรือการอุดกั้นทางเดินหายใจดีขึ้น
4.ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการนอนกรนผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัยการนอนกรนผิดปกติ
โดยการตรวจสภาพการนอนหลับ (Sleep lab) เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของการนอนกรน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจอะไรบ้างตามความเหมาะสม ดังนี้
1. Sleep lab test ตรวจ 5 รายการ
- ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะนอนหลับ
- ตรวจวัดลมหายใจที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก
- ตรวจนับจำนวนครั้งของการหยุดหายใจ หรือหายใจน้อยลง
- ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงขณะหยุดหายใจขณะหลับ
- ตรวจวัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือด
2. Polysomnography ตรวจ 8 รายการ
- ตรวจตามโปรแกรม Sleep lab test (5 รายการ)
- ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ
- ตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ
- ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้อง
การรักษาการนอนกรน
1.การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (ไม่ต้องผ่าตัด) ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ โคนลิ้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนกระชับและตึงตัวขึ้น
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการใช้แสงเลเซอร์เพื่อขยายทางเดินหายใจในคอให้กว้างขึ้นเพื่อมิให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ
3.การใช้เครื่องช่วยหายใจซึ่งเป็นเครื่องเป่าอากาศ (CPAP) ใส่ไว้ในขณะนอนหลับ เพื่อเพิ่มแรงดันของออกซิเจนให้ผ่านส่วนที่ตีบแคบลงไปได้
4.การรักษาด้วย Pillar
ราคาค่ารักษานอนกรนที่โรงพยาบาลยันฮี
- รักษานอนกรน ด้วยวิธียกเพดานอ่อน 51,000 บาท นอนโรงพยาบาล 1 คืน
- รักษานอนกรน ด้วย PILLAR เทคนิค 37,500 บาท
- รักษานอนกรนโดยใช้ความถี่วิทยุ 18,000 บาท
- การตรวจบันทึกการนอนหลับ Sleep Lab test 11,000 บาท นอนโรงพยาบาล 1 คืน
* ราคารวมค่ายาค่าผ่าตัด และนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลแล้ว จะจ่ายเพิ่มแค่ค่าบริการโรงพยาบาล 250 บาท
ความคิดเห็นต่อบทความ
ความเห็นบน MagGang(0)
ความเห็นบน Facebook()